วันพุธที่ 26 สิงหาคม พ.ศ. 2558

ทำไม ต้องเป็นวิศวกรที่ดี

เมื่อลองพิจารณาอัตราการจ้างงานกับจำนวนบัณฑิตจบใหม่แล้ว ทำให้ทราบว่า มีวิศวกรจบใหม่หลายคนที่ไม่ได้ประกอบอาชีพตรงตามที่ตนได้เรียนมา สาเหตุหลักๆอาจเป็นเพราะอัตราการจ้างงานที่ไม่เพียงพอต่อจำนวนวิศวกรที่ศึกษาจบออกมาในแต่ละปี


บริษัทต่างๆใช้อะไรเป็นเกณฑ์ในการตัดสินใจรับเข้าทำงาน? หลายๆคนอาจเคยตั้งคำถามนี้อยู่ในใจ เกณฑ์หลักๆที่นำมาใช้ในการตัดสินใจอาจจะเป็น เกรดเฉลี่ย เกียรตินิยม ความอดทน ความกระตือรือร้น และที่ขาดไม่ได้เลยในปัจจุบันนี้ก็คือความสามารถทางภาษาอังกฤษ


 แต่ในความเป็นจริงแล้ว เราทุกคนควรตระหนักว่าการเป็นวิศวกรที่ดีมีคุณภาพนั้น ไม่ใช่เพียงแต่สามารถทำให้เราเข้าทำงานในบริษัทที่ดีได้ แต่เราควรเป็นวิศวกรที่ดีเพื่อพัฒนาตนเอง และพัฒนาสิ่งต่างๆรอบตัวให้ดีขึ้นกว่าเดิม ยกตัวอย่างเช่น มีความซื่อสัตย์ต่อวิชาชีพ ไม่ประจบประแจงเอาอกเอาใจนายทุนจนเกินไป เป็นคนตรงไปตรงมา ไม่เมินเฉยต่อการคดโกงใดๆ จะทำให้ประชาชนและสังคมมีความปลอดภัย เป็นต้น



เพราะสังคมในปัจจุบันเกิดการคดโกงขึ้นได้ทุกที่ ทุกเวลา หากเรามัวแต่เห็นแก่เงิน ไม่มีคุณธรรมในจิตใจ ก็จะทำให้สังคมและประเทศชาติสั่นคลอนได้ในที่สุด

6 ความคิดเห็น:

  1. วิศวกรที่มีคุณภาพขาดอีกเยอะครับ ทุกวันนี้ม้นล้นตลาดเพราะทุกมหาลัยต่างเปิดหลักสูตรนี้ขึ้นมาจนไม่ดูคุณภาพของเด็กที่จบ
    บางคนจบมาใช้เครื่องไม้เครื่องมือพื้นฐานไม่เป็นเลยก็มี ต้องมานั่งเทรนนั่งสอนตั้งแต่พื้นฐานใหม่ สุดท้ายพอมันไม่ชอบมันก็ลาออกไปซะชิบ หรือบางทีมันอาจจะอยู่ที่อาจารย์ ที่เวลาจัดซื้อจัดหาเครื่องมือเป็นแสนเป็นล้านมาแล้วเอาเก็บไว้ใช้กันส่วนตัวเพื่อทำงานวิจัย ถ้าไม่ใช่เด็กในสังกัดอาจารย์ก็อย่าหวังว่าจะได้แม้กระทั่งเสียบปลั๊ก บางทีก็เจอพวกไม่ทนมือทนเท้า เจองานหนักหน่อยก็ถอยหลัง ไม่รู้ว่าจบมาแล้วคาดหวังอะไรกันไว้สูงเกินหรือป่าวว่า วิศวกรจะต้องมีลูกน้อง จะต้องชี้นิ้วสั่งอย่างเดียว?

    เรียนวิศวะหากเรียนตามรายวิชาเรียน ไม่คิดหาความรู้ใหม่ๆ ทั้งเรื่องเทคนิคและภาษา นี่หางานยากแน่นอนครับ
    แม้ทำงานแล้วก็ยังต้องศึกษาสิ่งใหม่ๆอยู่ตลอด เพราะเทคโนโลยีมันก้าวไปไวมากครับ บางทีมันมี Solution ใหม่ๆที่สามารถนำมาประยุกต์ใช้กับงานเราได้

    credit : jubchay (http://pantip.com/topic/30326099)

    ตอบลบ
  2. ซื่อสัตย์ต่อวิชาชีพตนเอง ไม่เอาใจนายทุน ตรงไปตรงมาเพื่อ "ทำให้ประชาชนมีความปลอดภัย"

    โดย คุณมั่น ศรีเรือนทอง กรรมการสภาวิศวกร

    ตอบลบ
  3. อันนี้มีการคอมเม้นกันเกี่ยวกับ วิศวกรที่ดี

    https://m.facebook.com/WhiteEngineer/posts/618223938318451

    ถ้าซ้ำโทดทีนะครับ

    ตอบลบ
  4. ปัจจุบันอาชีพวิศวกรไม่ได้ดีเหมือนแต่ในอดีตแล้ว
    เพราะปีๆนึงมีบัณฑิตที่จบได้วุฒิ วศ.บ. มากมายแต่ปริมาณงานที่รองรับกลับไม่เพียงพอ
    เพราะค่านิยมในประเทศไทยมีลูกมีหลานต้องส่งให้เรียนวิศวะต้องส่งให้เรียนหมอ
    เมื่อค่านิยมคนไทยบูมมากๆเรื่องลูกต้องจบ หมอ,วิศวะ ทำให้คนไปสมัครเข้า2สายนี้เยอะมาก
    ทำให้บางคนที่จบมาอาจจะไม่ได้คุณภาพเหมือนในอดีต

    ตอบลบ
  5. ถ้าจะถึงขั้นต้องทนเรียน ลองเป็นเปลี่ยนทัศนคติดีกว่าไหมครับ ถ้าเปลี่ยนไม่ได้ก็ค่อยมองหาในสิ่งที่ชอบต่อไป
    -จบวิศวะ หางานง่ายกว่า แต่ถ้าใจไม่ชอบในงาน ยังไงก็ทนทำไปได้ไม่นาน หรือวิ่งไปหางานอื่นที่ชอบอยู่ดี
    -จบวิศวะ หางานได้ตำแหน่งที่สูง หรือไม่ต้องไต่เต้าจากระดับงานล่างๆ
    -จบวิศวะ ได้เรียนพื้นฐานในเรื่องช่างต่างๆ สามารถช่วยตัวเองได้ในเรื่องการซ่อมแซมได้ในระดับหนึ่ง
    -จบวิศวะ การถูกหลอกจากช่างขี้โกงมีโอกาศน้อยลง หรือสามารถรู้ว่าถูกหลอกได้เร็วขึ้น
    -จบวิศวะ การทำงานมักเจอกับพวกสายวิศวะด้วยกันที่มักไม่กัดไม่แขวะกันในที่ทำงานมากเหมือนกับทำงานในออฟฟิส(ประสบการณ์ส่วนตัวจากที่ๆทำงานที่หนึ่ง ไม่รู้ว่าเราไปทำให้พวกๆ(ย้ำว่า พวกๆ ออฟฟิสมีไม่ถึงสิบคนแบ่งกันซะ)เค้าโกรธตั้งแต่ชาติปางไหน โดนตั้งแต่ชั่วโมงแรกที่ทำงาน ยันนาทีสุดท้ายที่ออกจากงานนั้น หลังออกมาทำงานกับสายงานตรงกับที่จบมาก็ไม่เจออีกเลย)
    -จบวิศวะ มักได้เรียนรู้ในการพลิกแพลง(Apply)ความรู้ไปใช้ในด้านต่างๆได้
    -จบวิศวะ คนมักให้ความเชื่อถือ เพราะเป็นสาขาที่เรียนยาก ถ้าไม่ทุ่มให้ที่สุด ไม่จบกันง่ายๆ แต่ละรุ่นมักจบไม่ครบทุกคน หลายคนท้อและออกไปในที่สุด แต่คนจบมาได้จะรู้สึกว่าตัวเองมีค่าสุดๆ
    -จบวิศวะ ไม่ได้มีกฏหมายใดตรามาบังคับให้ทำงานที่ไม่ชอบได้ อยากประกอบอาชีพใดเป็นเรื่องส่วนบุคคล
    -ในการเรียนวิศวะ ไม่ได้มีแต่เรื่องช่าง มีหลากหลายวิชาที่เราสามารถลงเรียนเพื่อไปเป็นเจ้าของกิจการได้

    http://pantip.com/topic/31360054

    ตอบลบ
  6. http://th.jobsdb.com/th-th/articles/%E0%B8%87%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B8%A8%E0%B8%A7%E0%B8%B0%E0%B8%84%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%AD%E0%B8%B0%E0%B9%84%E0%B8%A3-%E0%B8%95%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%A1%E0%B8%B5

    ตอบลบ