กุสตาฟ ไอเฟล (Gustave Eiffel) หรือชื่อเต็ม อาเลกซ็องดร์ กูสตาฟว์ แอแฟล (Alexandre Gustave Eiffel) เป็นวิศวกรและสถาปนิกชาวฝรั่งเศส เป็นปรมาจารย์ในด้านการก่อสร้างด้วยเหล็ก
สิ่งก่อสร้างที่เขาสร้างและคนจดจำได้มากที่สุดคือ หอไอเฟล(Eiffel Tower) รวมทั้ง Three-Hinged
Arch และยังมีความสามารถในการสร้างสะพาน เป็นต้นว่า
สะพานข้ามแม่น้ำดูโร (Douro) ในตอนเหนือของประเทศโปรตุเกส ซึ่งจัดได้ว่าเป็นสะพานที่มีช่วงกว้างที่สุดในเวลานั้น
จากประสบการณ์การสร้างฐานสะพานที่มีความสูงเหล่านี้
ทำให้เขาสามารถสร้างหอไอเฟลได้ในปี ค.ศ. 1889
นิโคลา เทสลา (Nikola Tesla) เป็น นักประดิษฐ์, นักฟิสิกส์,
วิศวกรเครื่องกล,
วิศวกรไฟฟ้า เป็นผู้คิดค้นสัญญาณวิทยุ การค้นพบหลักการสนามแม่เหล็กไฟฟ้า แต่ผลงานที่ทำให้เขาเป็นที่รู้จักกันดีคือ
การค้นคว้าพัฒนาไฟฟ้ากระแสสลับ ซึ่งในขณะนั้นมีการแข่งขันกับไฟฟ้ากระแสตรงที่ถูกพัฒนาขึ้นมา
โทมัส เอดิสัน แต่ในที่สุดไฟฟ้ากระแสสลับก็ได้รับความนิยมมากกว่า
เพราะเกิดการสูญเสียน้อยกว่าในการส่งกระแสไฟฟ้าในระยะทางไกล
ในปี 2503 หน่วยสำหรับวัดความ
ความหนาแน่นของเส้นแรงแม่เหล็ก หรือ การเหนี่ยวนำด้วยพลังแม่เหล็ก
(ที่รู้จักกันทั่วไปว่าเป็นสนามแม่เหล็ก B \), ถูกตั้งชื่อว่า เทสลา
เพื่อเป็นเกียรติแก่เขา
วิลเลียม เฮนรี เกตส์ ที่สาม หรือที่มักเป็นที่รู้จักในชื่อ บิล เกตส์ (Bill Gates) เป็นวิศวกรคอมพิวเตอร์และนักธุรกิจชาวอเมริกัน หนึ่งในผู้ก่อตั้งบริษัทไมโครซอฟท์ เขากับผู้บุกเบิกด้านคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลคนอื่น
ๆ ได้ร่วมกันเขียนต้นแบบของภาษาอัลแตร์เบสิก ซึ่งเป็นอินเตอร์เพรเตอร์สำหรับเครื่องอัลแตร์
8800 (เครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลในยุคแรกๆ) เขาได้ร่วมกับพอล แอลเลน ก่อตั้งไมโครซอฟท์ คอร์ปอเรชันขึ้น ซึ่งในขณะนี้เขาดำรงตำแหน่งที่ปรึกษาเรื่องเทคโนโลยี
เฮนรี ฟอร์ด (Henry Ford) เป็นวิศวกรของบริษัทเอดิสัน ในเมืองดีทรอยต์ สามารถพัฒนารถยนต์สี่ล้อคันแรกสำเร็จในปี
2439 ตั้งชื่อว่า "ฟอร์ด ควอดริไซเคิล" (Ford Quadricycle) ต่อมา ในปี 2446 เขาได้ตั้ง "บริษัท ฟอร์ด มอเตอร์" (Ford Motor Company) ร่วมกับเพื่อน ๆ นักประดิษฐ์ พ.ศ. 2446 เขาริเริ่ม นำระบบสายพานมาใช้ในการผลิต
โดยให้อุปกรณ์ไหลไปตามสายพานและให้คนงานประกอบรถยนต์ทีละส่วน และทำให้ผลิตรถยนต์หนึ่งคันเพียงชั่วโมงครึ่ง
ต่อมาเกิดสงครามโลกครั้งที่ 1 บริษัทฟอร์ดก็ยังประสบความสำเร็จในการผลิตเครื่องบิน "ฟอร์ด 4เอที ไตรมอเตอร์" (Ford 4AT Trimotor) ฟอร์ดมีส่วนในการพัฒนาอุตสาหกรรมรถยนต์ให้ก้าวหน้าขึ้นกลายเป็นธุรกิจที่ใหญ่ที่สุดในช่วงต้นคริสต์ศตวรรษที่
20
อิซัมบาร์ด คิงดอม บรูเนล (Isambard Kingdom
Brunel) เป็นวิศวกรเครื่องกลและวิศวกรโยธาชาวอังกฤษ ออกแบบสถานีรถไฟที่มีชื่อเสียงแห่งหนึ่งของอังกฤษนามว่า เกรตเวสเทิร์นเรลเวย์ (Great Western Railway) ออกแบบอู่ท่าเรือหลายแห่งในสมัยนั้น
รวมถึงเรือกลไฟบรูเนล เป็นคนแรกที่สามารถออกแบบเรือกลไฟให้สามารถข้ามมหาสมุทรแอตแลนติก นอกจากนี้ ยังออกแบบอุโมงค์และสะพานที่สำคัญจำนวนมาก เช่น อุโมงค์ลอดใต้แม่น้ำเทมส์
ซึ่งยากต่อการสร้างได้ และเขายังเป็นผู้พัฒนาออกแบบเรือเอสเอสเกรตบริเตน (SS Great Britain)
ซึ่งเป็นเรือที่ทำด้วยเหล็กกล้าและใช้ใบจักรแบบสกรูครั้งแรกของโลก
และได้ถูกนำไปใช้ในการข้ามมหาสมุทรแอตแลนติกเป็นลำแรกของโลก
และนอกจากนี้ยังเป็นเรือที่ใหญ่สุดในโลกเท่าที่มีการสร้างมาใน และเรือที่ยิ่งใหญ่ที่สุดของเขาคือ
เรือเอสเอสเกรตอีสเทิร์นซึ่งครองตำแหน่งเรือสำราญที่ใหญ่ที่สุดในโลกยาวนานถึง 34 ปี เป็นเรือที่มีขนาดก้าวกระโดดกว่าลำใด ๆ ในยุคนั้น
สตีเฟน แกรี่ วอซเนียก หรือ สตีฟ วอซเนียก (Steve
Wozniak) บ้างก็เรียก สตีฟ โวสนิแอก ชื่อเล่นว่า "Woz"(วอซ) เป็นวิศวกรคอมพิวเตอร์
ผู้ก่อตั้งร่วมกันของแอปเปิลคอมพิวเตอร์ และเป็นผู้สร้างคอมพิวเตอร์ Apple
I และ
Apple II
ปี 1970 วอซเนียกได้รู้จักกับสตีฟ จ๊อบส์ และได้ร่วมกันประกอบคอมพิวเตอร์ต้นแบบซึ่งนับเป็นจุดเริ่มต้นของแอปเปิ้ล
1 เมษายน 1976 จ๊อบส์และวอซเนียกก็ได้ก่อตั้ง Apple
Computer โดยที่วอซเนียกได้ลาออกจากงานของเขาที่ Hewlett-Packard และทำงานในแผนกการวิจัยและการพัฒนาที่แอปเปิ้ล
ผลิตภัณฑ์แรกของพวกเขาคือให้คอมพิวเตอร์ Apple I ในยุคที่คอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลส่วนใหญ่จะใช้ในเชิงพาณิชย์
โดยจ๊อบส์และว๊อซเนียกได้ขายคอมพิวเตอร์ 100 เครื่องแรกให้กับ
Paul Terrell ในการเปิดร้านคอมพิวเตอร์ใหม่ที่มีชื่อว่า Byte Shop
วอซเนียกได้สิ้นสุดการเป็นพนักงานจ้างเต็มเวลากับ Apple ในวันที่ 6
กุมภาพันธ์ 1987 เป็นเวลากว่า 12 ปีหลังจากการก่อตั้งบริษัท
แต่ถึงกระนั้นเขาก็ยังเป็นผู้ถือหุ้นและกรรมการบริหารบริษัท
เซอร์เกย์ บริน (Sergey Brin) เป็นชาวอเมริกันเชื้อสายรัสเซีย
ผู้ร่วมก่อตั้งกูเกิลร่วมกับแลร์รี เพจ
ปัจจุบัน เซอร์เกย์ บรินอยู่ในตำแหน่งประธานฝ่ายเทคโนโลยีของกูเกิล
และผู้อำนวยการของกูเกิล เอ็กซ์
เขาได้เข้าศึกษาระดับปริญญาตรีจากมหาวิทยาลัยแมริแลนด์ในเมืองคอลเลจพาร์กศึกษาในด้านวิทยาการคอมพิวเตอร์และคณิตศาสตร์ และต่อมาเขาได้ศึกษาต่อในระดับปริญญาโทและเอกที่มหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ดโดยได้ทุนการศึกษาจากมูลนิธิวิทยาศาสตร์แห่งชาติสหรัฐอเมริกา ซึ่งในระหว่างที่ศึกษาที่สแตนฟอร์ดนี่เอง
เขาและแลร์รีได้ร่วมก่อตั้งบริษัทกูเกิล
โดยปัจจุบันเขาพักการเรียนของตัวเองโดยไม่มีกำหนด
ลอว์เรนซ์ แลร์รี เพจ (Lawrence "Larry" Page เป็นนักวิทยาการคอมพิวเตอร์ นักพัฒนาซอฟต์แวร์
และผู้ร่วมก่อตั้งกูเกิลคู่กับ เซอร์เกย์ บริน เขารับหน้าที่เป็นประธานกรรมการบริหารของบริษัทกูเกิลต่อจาก เอริก ชมิดต์
แลร์รี่ เพจ จบการศึกษาชั้นมัธยมจากมัธยมศึกษาอีสต์แลนซิง จากเมืองอีสต์แลนซิง จบการศึกษาปริญญาตรีวิทยาศาสตร์บัณฑิต
สาขาวิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์จากมหาวิทยาลัยมิชิแกน-แอนอาเบอร์ หลังจากนั้นได้เข้าศึกษาต่อปริญญาโท
ณ มหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด
ขณะที่ศึกษาปริญญาเอก ณ มหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด
เพจได้ความคิดจากเพื่อนของเขา แอเลกซ์ ซองคิน และภายหลังได้พบกับ เซอร์เกย์ บริน ทั้งสองคนได้พัฒนา Google Search Engine ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1998